ฟรี ร้านค้า ออนไลน์ 18.217.60.35 : 19-04-24 7:09:23   
หน้าแรก siam-shop.com ค้นหาร้านค้าสมาชิก
ชื่อสินค้า  
    หมวดสินค้าของเรา            
  
 
Notebook
กระเป๋า
กล้องถ่ายรูป
กวดวิชา ติวเตอร์ ฝึกอบรม
การเกษตร
การเงิน&บัญชี
ก่อสร้าง
ของที่ระลึกจากภาพยนตร์
ความงามและสุขภาพ
คอมพิวเตอร์
จตุคาม
จักรยาน&จักรยานยนต์
ตกแต่ง ซ่อมแซม
ตั๋ว&บัตร
ตุ๊กตา&ของเล่น
ที่ดิน
ที่พัก โรงแรม รีสอร์ท
ท่องเที่ยว
ธนบัตร&เหรียญ ของสะสม
นวนิยาย
บริการถ่ายภาพ
บ้าน
ประกันภัย&ประกันชีวิต
พระ
รถ รถตู้ให้เช่า
รถยนต์ ประดับยนต์
ล้อแม็กรถยนต์
วัตถุมงคล
สัตว์เลี้ยง
สำนักงาน
สินค้า หรือ บริการทั่วไป
หนังสือ
หนังสือการ์ตูน
หนังสือคอมฯ
หนังสือออกใหม่
ห้องซ้อมดนตรี
ห้องพัก หอพัก
อาคารชุด
อาคารพานิชย์
อินเตอร์เนต
อุปกรณ์ เครื่องเขียน แบบเรียน
อุปกรณ์กีฬา
อุปกรณ์ต่อพ่วงคอมพิวเตอร์
อุปกรณ์และของใช้ในบ้าน
เกมส์
เครื่องดนตรี กีตาร์ กลอง
เครื่องดนตรี คีย์บอร์ด เปียนโน
เครื่องถ่ายเอกสาร
เครื่องประดับ
เครื่องใช้ไฟฟ้า
เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย
โชว์ การแสดง
โต๊ะ เก้าอี้
โทรศัพท์&อุปกรณ์เสริม
โทรสาร
โน๊ตเพลง

  สปอนเซอร์ของเรา
   
   
   

"คาร์ล ลันด์สไตเนอร์" พบหมู่เลือด ABO  

 
"คาร์ล ลันด์สไตเนอร์" พบหมู่เลือด ABO
 
บริจาคโลหิตเป็นบุญเมื่อ "คาร์ล ลันด์สไตเนอร์" พบหมู่เลือด ABO
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 14 มิถุนายน 2550 14:17 น.

คาร์ล ลันด์สไตเนอร์ (Karl Landsteiner) นักวิทยาศาสตร์ชาวออสเตรียสามารถแยกหมู่เลือดได้เป็นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1900 ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการถ่ายเลือดให้ผู้ป่วยในภายหลัง (ภาพจาก www.oeaz.at)

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
คาร์ล ลันด์สไตเนอร์ ได้รับรางวัลโนเบลในปี 1930 สาขาการแพทย์จากการค้นพบหมู่เลือด (ภาพจาก en.wikipedia.org)

แสดงชนิดของแอนติเจนที่เกาะอยู่บนผิวเซลล์เม็ดเลือดแดงของเลือดหมู่ต่างๆ (ภาพจาก en.wikipedia.org)

เซลล์เม็ดเลือดแดง (ภาพจาก www.mast.queensu.ca)

"เลือด" ของเหลวสำคัญที่ไหลเวียนอยู่ทั่วร่างกายเพื่อนำพาออกซิเจนจากปอดไปเลี้ยงเซลล์ของอวัยวะอื่นๆ ตลอดเวลา หากร่างกายสูญเสียเลือดเป็นปริมาณมากจะส่งผลให้ออกซิเจนที่จะไปเลี้ยงเซลล์ต่างๆ มีไม่เพียงพอและเสียชีวิตในที่สุด ทำให้มนุษย์เกิดความคิดที่จะถ่ายเลือดให้แก่กันเพื่อรักษาอีกชีวิตหนึ่งเอาไว้ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำให้เลือดของทุกคนเข้ากันได้ดี แต่ในที่สุดก็สามารถทำได้หลังจากการค้นพบและจำแนกหมู่เลือดได้ครั้งแรกเมื่อร้อยกว่าปีก่อน
       
       วันที่ 14 มิ.ย. ของทุกปีถูกกำหนดให้เป็นวันผู้บริจาคโลหิตโลก (World Blood Donor Day) เนื่องจากเป็นวันคล้ายวันเกิดของ คาร์ล ลันด์สไตเนอร์ (Karl Landsteiner) นักวิทยาศาสตร์เจ้าของรางวัลโนเบลปี 1930 สาขาการแพทย์ผู้ค้นพบและจำแนกหมู่เลือดได้เป็นครั้งแรกในระบบเอบีโอ (ABO system) ซึ่งต่อมามีประโยชน์ทางการแพทย์เป็นอย่างมาก สามารถช่วยชีวิตผู้คนได้มากมาย
       
       คาร์ล ลันด์สไตเนอร์ เกิดเมื่อวันที่ 14 มิ.ย.1868 ในกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย บิดาของเขาเป็นทั้งบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ นักข่าว และทนายความ ลันด์สไตเนอร์ จบการศึกษาด้านแพทยศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเวียนนา (University of Vienna) เมื่อปี 1891 ซึ่งต่อมาเขาได้เป็นศาสตราจารย์ด้านพยาธิวิทยานี่ ทว่าลันด์สไตเนอร์เสียชีวิตด้วยอาการหัวใจวายขณะทำงานอยู่ในแล็บเมื่อวันที่ 26 มิ.ย.1943 ด้วยวัย 75 ปี
       
       ความพยายามรักษาผู้ป่วยที่สูญเสียเลือดด้วยการถ่ายเลือดจากคนปกติมาให้ มีมานานแล้วในวงการแพทย์ แต่ยังไม่มีใครได้ทดลองทำ จนกระทั่งริชาร์ด โลเวอร์ (Richard Lower) แพทย์ชาวอังกฤษทดลองถ่ายเลือดจากสุนัขให้สุนัข ในปี 1665 และไม่พบว่ามีอะไรผิดปกติ
       
       ต่อมาในปี 1667 ฌอง แบบติส เดอนีย์ส (Jean Baptiste Denys) แพทย์ชาวฝรั่งเศสประสบความสำเร็จในการทดลองถ่ายเลือดคนแรก โดยนำเลือดจากแกะไปสู่เด็กชายคนหนึ่ง และหลังจากนั้นเดอนีย์สก็ได้ถ่ายเลือดจากแกะให้กับผู้ป่วยชายอีก 2 คน แต่โชคร้ายที่คนหลังเสียชีวิต
       
       ทั้งนี้เดอนีย์สได้บันทึกไว้ว่า ครั้งแรกที่ถ่ายเลือดให้ไม่มีพบสิ่งผิดปกติ ครั้งที่ 2 ผู้ป่วยมีอาการตัวร้อน ชีพจรเต้นเร็ว และปวดหลัง กระทั่งเสียชีวิตหลังจากที่ขาถ่ายเลือดให้เป็นครั้งที่ 3
จนเกิดเป็นคดีความขึ้นมาเพราะเป็นที่เชื่อว่าผู้ตายเสียชีวิตจากการถ่ายเลือด แต่ก็พ้นผิดมาได้เนื่องจากตรวจพบสารหนูในร่างกายผู้ตายด้วย นับแต่นั้นมารัฐบาลฝรั่งเศสและอังกฤษก็ประกาศห้ามมีการถ่ายเลือดโดยไม่ได้รับอนุญาต ทำให้เรื่องนี้หยุดชะงักไป
       
       ร้อยกว่าปีต่อมา เจมส์ บลันเดลล์ (James Blundell) สูตินรีแพทย์ชาวอังกฤษต้องการช่วยชีวิตหญิงผู้หนึ่งที่ตกเลือดมากหลังคลอดบุตร จึงถ่ายเลือดจากสามีของเธอให้และช่วยชีวิตเธอไว้ได้ นับเป็นครั้งแรกที่ประสบความสำเร็จในการถ่ายเลือดจากคนสู่คน ทำให้มีการทดลองถ่ายเลือดจากคนสู่คนต่อมาอีกมาก มีทั้งที่ได้ผลดีและผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่เสียชีวิตหลังการถ่ายเลือด
       
       อุปสรรคที่เกิดขึ้นในช่วงนั้นคือ เลือดของผู้ให้มักแข็งตัวก่อนถึงผู้รับ ซึ่งต่อมาไม่นานก็แก้ไขได้โดยใช้โซเดียม ฟอสเฟท (sodium phosphate) ป้องกันการแข็งตัวของเลือด แต่ปัญหาสำคัญที่พบมากกว่าและยังไม่มีวิธีแก้เป็นเวลาหลายสิบปีคือ เกิดปฏิกิริยาที่ทำลายเม็ดเลือดแดงในผู้รับ เป็นผลให้เกิดอาการช็อคและเสียชีวิตในที่สุด
       
       จากปัญหานี้ทำให้แพทย์และนักวิทยาศาสตร์ในสมัยนั้นพยายามค้นหาสาเหตุและวิธีแก้ไข รวมทั้งลันด์สไตเนอร์ ซึ่งเป็นทั้งแพทย์และนักชีววิทยาอยู่ที่มหาวิทยาลัยเวียนนา กระทั่งปี 1900 ลันด์สไตเนอร์ ได้ทดลองเจาะเลือดของผู้ร่วมงานจำนวน 6 คน แล้วนำไปปั่นแยกเม็ดเลือดแดงกับน้ำเหลือง หรือ ซีรัม (Serum) ออกจากกัน จากนั้นทดลองนำเม็ดเลือดแดงและซีรัมที่แยกได้ของแต่ละคนมาทำปฏิกิริยาสลับกันไปมา บางคู่ผสมกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน บางคู่เม็ดเลือดแดงจับกลุ่มกันแล้วตกตะกอน (Agglutination)
       
       ลันด์สไตเนอร์ ตั้งสมมติฐานว่าเลือดของคนเราน่าจะมีคุณสมบัติทางเคมีบางประการแตกต่างกัน และหากมีการให้เลือดที่ไม่ตรงกันจะทำให้เม็ดเลือดแดงจับกลุ่มตกตะกอน เมื่อเขาศึกษาก็พบว่าบนผิวเซลล์เม็ดเลือดแดงมีสารที่เป็นโปรตีนเรียกว่าแอนติเจน (Antigen: Ag) อยู่ 2 ชนิด คือ แอนติเจนเอ (Ag A) และ แอนติเจนบี (Ag B)
       
       ส่วนในซีรัมพบว่ามีโปรตีนที่เรียกว่า แอนติบอดี (Antibody: Ab) อยู่ 2 ชนิดเช่นกัน คือ แอนติบอดีเอ (Ab A) และ แอนติบอดีบี (Ab B) ต่อมาในปี 1901 ลันด์สไตเนอร์ได้สรุปว่าหมู่เลือดของคนเราแบ่งออกเป็น 3 หมู่ คือ เอ, บี และ ซี โดยใช้ชนิดของแอนติเจนที่เกาะอยู่บนผิวเซลล์เม็ดเลือดแดงเป็นตัวจำแนก
       

       
       - หมู่เลือดเอจะมีแอนติเจนเอและแอนติบอดีบี ( หมู่ A : Ag A และ Ab B)
       
       - หมู่เลือดบีจะมีแอนติเจนบีและแอนติบอดีเอ ( หมู่ B : Ag B และ Ab A)
       
       - หมู่เลือดซีนั้นเป็นหมู่ที่ไม่แอนติเจนชนิดใดเลย แต่มีแอนติบอดีทั้งเอและบี (หมู่ C : Ab A และ Ab B)
       
       ต่อมาลันด์สไตเนอร์ได้เปลี่ยนชื่อหมู่เลือดซีเป็นหมู่เลือดโอ เพื่อสื่อถึงความว่างเปล่า เพราะกลัวว่าจะมีคนเข้าใจผิดคิดว่าเลือดหมู่ซีเป็นเลือดที่มีแอนติเจนซีอยู่
       
       อีกหนึ่งปีให้หลัง อัลเฟร็ด ฟอน เดอคาสเตลโล (Alfred von Decastello) และอันเดรียโน สเตอร์ลี (Adriano Sturli) แพทย์ที่ร่วมงานกับลันด์สไตเนอร์ ได้จำแนกหมู่เลือดที่ 4 คือ หมู่เลือดเอบีได้ หลังจากพบว่าบนผิวเซลล์เม็ดเลือดแดงของบางคนมีแอนติเจนทั้ง 2 ชนิดเกาะอยู่ และไม่พบแอนติบอดีใดๆ อยู่ในพลาสมา
       
       จากการค้นพบและจำแนกหมู่เลือดของลันด์สไตเนอร์และเพื่อนร่วมงาน ทำให้การถ่ายเลือดให้ผู้ป่วยในระยะต่อมามีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น และส่งผลให้ลันด์สไตเนอร์ได้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์ในปี 1930 แต่ยังพบผู้ป่วยบางรายที่มีปฏิกิริยาต่อการถ่ายเลือดแม้ว่าแพทย์จะดำเนินการตามวิธีที่ถูกต้องแล้วก็ตาม
       
       ต่อมาเมื่อปี 1939 ฟิลิป เลวีน (Philip Levine) และอาร์.อี. สเตทสัน (R.E. Stetson) 2 นักวิทยาศาสตร์ได้ถ่ายเลือดให้หญิงผู้หนึ่งที่เสียเลือดมากจากการคลอดบุตรซึ่งบุตรของเธอเสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เมื่อพวกเขาศึกษาก็พบว่าเลือดของเด็กที่ตายในครรภ์มีปฏิกิริยากับเลือดของมารดา แต่ตอนนั้นเข้าในว่ามารดาของเด็กที่เสียชีวิตอาจได้รับสารบางอย่างที่ไปทำอันตรายเม็ดเลือดแดงของบุตรในครรภ์
       
       ในปี 1940 ลันด์สไตเนอร์ และเพื่อนร่วมงาน อเล็กซ์ วีนเออร์ (Alex Wiener) ค้นพบหมู่เลือดระบบอาร์เอช (Rh) หลังจากที่ได้ทดลองฉีดเลือดจากลิงเรซัส (Rhesus monkey) เข้าไปในกระต่าย พบว่าน้ำเหลืองของกระต่ายทำปฏิกิริยากับเม็ดเลือดแดงของลิง ซึ่งทำปฏิกิริยากับเม็ดเลือดแดงของคนทั่วไปด้วย ต่อมาพบว่าแอนติเจนที่พบในลิงเป็นชนิดเดียวกับที่พบในคน แต่ไม่มีส่วนสัมพันธ์กับหมู่เลือดระบบเอบีโอ พวกเขาจึงคิดว่าสาเหตุที่ทำให้การถ่ายเลือดในผู้ป่วยบางรายมีปัญหาอาจเป็นเพราะเลือดอยู่หมู่เดียวกันในระบบเอบีโอแต่อยู่อยู่ต่างหมู่ในระบบ Rh
       
       ระบบ Rh จำแนกจากแอนติเจนชนิด Rh บนผิวเซลล์เม็ดเลือดแดง (Rh มาจาก Rhesus) หมู่เลือดอาร์เอชบวก (Rh positive: Rh+) จะมีแอนติเจน Rh และไม่มีแอนติบอดี ส่วนหมู่เลือดอาร์เอชลบ (Rh negative: Rh-) ไม่มีแอนติเจน Rh แต่สามารถสร้างแอนติบอดีขึ้นมาได้เมื่อได้รับเลือด Rh+
       
       การให้เลือดนอกจากจะพิจารณาหมู่เลือดในระบบ ABO แล้ว ยังต้องคำนึงถึงหมู่เลือดในระบบ Rh ด้วย
       
       สำหรับหลักการการให้เลือดมีอยู่ว่า แอนติเจนในเลือดของผู้ให้ต้องไม่ตรงกับแอนติบอดีในเลือดของผู้รับ ฉะนั้น หมู่เลือดโอจึงให้กับผู้รับได้ทุกหมู่แต่จะรับได้จากหมู่เลือดโอเท่านั้น ขณะที่หมู่เลือดเอบีจะให้ได้แต่เฉพาะหมู่เลือดเอบีแต่สามารถรับได้จากทุกหมู่
       
       และเมื่อพิจารณาในระบบ Rh ผู้ที่มีเลือด Rh+ สามารถรับได้ทั้ง Rh+ และ Rh- แต่ผู้ที่มีเลือด Rh- สามารถรับเลือด Rh+ ได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น เพราะเกิดการสร้างแอนติบอดีขึ้นซึ่งจะเป็นอันตรายมากหากได้รับในครั้งต่อไป
       
       ในคนไทยพบหมู่เลือด Rh- 0.3% ขณะที่พบหมู่เลือดนี้ในชาวยุโรปมากว่า โดยในอังกฤษพบถึง 20% และเป็นสาเหตุหนึ่งทำให้เด็กแรกคลอดที่มีเลือด Rh+ เสียชีวิตได้เมื่อแม่ของเด็กมีเลือด Rh- แต่พ่อมีเลือด Rh+ เรียกว่า โรคอาร์เอช (Rh disease) หรือ อีริโทรบลาสโตซิส ฟีทาลิส (Erythroblastosis fetalis) โรคโลหิตจางที่ทำให้เด็กแรกเกิดเสียชีวิต

   
   
 
 
แสดงความเห็นต่อบทความนี้
User :
Pass :
ลืมรหัสผ่าน

 
 
© Copyright 2007 SIAM-SHOP.COM All Rights Reserved.