ฟรี ร้านค้า ออนไลน์ 3.233.221.42 : 29-03-24 20:05:10   
หน้าแรก siam-shop.com ค้นหาร้านค้าสมาชิก
ชื่อสินค้า  
    หมวดสินค้าของเรา            
  
 
Notebook
กระเป๋า
กล้องถ่ายรูป
กวดวิชา ติวเตอร์ ฝึกอบรม
การเกษตร
การเงิน&บัญชี
ก่อสร้าง
ของที่ระลึกจากภาพยนตร์
ความงามและสุขภาพ
คอมพิวเตอร์
จตุคาม
จักรยาน&จักรยานยนต์
ตกแต่ง ซ่อมแซม
ตั๋ว&บัตร
ตุ๊กตา&ของเล่น
ที่ดิน
ที่พัก โรงแรม รีสอร์ท
ท่องเที่ยว
ธนบัตร&เหรียญ ของสะสม
นวนิยาย
บริการถ่ายภาพ
บ้าน
ประกันภัย&ประกันชีวิต
พระ
รถ รถตู้ให้เช่า
รถยนต์ ประดับยนต์
ล้อแม็กรถยนต์
วัตถุมงคล
สัตว์เลี้ยง
สำนักงาน
สินค้า หรือ บริการทั่วไป
หนังสือ
หนังสือการ์ตูน
หนังสือคอมฯ
หนังสือออกใหม่
ห้องซ้อมดนตรี
ห้องพัก หอพัก
อาคารชุด
อาคารพานิชย์
อินเตอร์เนต
อุปกรณ์ เครื่องเขียน แบบเรียน
อุปกรณ์กีฬา
อุปกรณ์ต่อพ่วงคอมพิวเตอร์
อุปกรณ์และของใช้ในบ้าน
เกมส์
เครื่องดนตรี กีตาร์ กลอง
เครื่องดนตรี คีย์บอร์ด เปียนโน
เครื่องถ่ายเอกสาร
เครื่องประดับ
เครื่องใช้ไฟฟ้า
เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย
โชว์ การแสดง
โต๊ะ เก้าอี้
โทรศัพท์&อุปกรณ์เสริม
โทรสาร
โน๊ตเพลง

  สปอนเซอร์ของเรา
   
   
   

สาระน่ารู้☆หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค จ.พระนครศรีอยุธยา  

 
สาระน่ารู้☆หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค จ.พระนครศรีอยุธยา
 
     ☆หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค☆
     พระครูวิหารกิจจานุการ หรือหลวงพ่อปาน โสนันโท เดิมชื่อ ปาน สุทธาวงษ์ บิดาชื่อนายอาจ มารดาชื่อ นางอิ่ม เกิดเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2418 ตรงกับวันศุกร์ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 8 ที่บ้านตำบลบางนมโค อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา      ที่ได้รับการขนานนามว่า “ปาน” เนื่องจากตั้งแต่แรกเกิดท่านมีสัญลักษณ์ประจำตัวเป็นปานสีแดงที่นิ้ว ก้อยมือซ้ายตั้งแต่โคนถึงปลายนิ้ว เมื่ออายุ 21 ปี ตรงกับวันอาทิตย์ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 5 ได้อุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดบางนมโค โดยมีหลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อจ้อย วัดบ้านแพน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์อุ่ม วัดสุธาโภชน์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา “โสนันโท” หลวงพ่อปาน ศึกษาร่ำเรียนวิทยาการกับหลวงพ่อสุ่น ทั้งด้านวิปัสสนากรรมฐานและพุทธาคมต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการรักษาโรคภัยไข่เจ็บตลอดจนผู้ที่ถูกคุณไสยจนแตก ฉาน จากนั้นจึงออกธุดงค์      ในระหว่างนั้นท่านได้ศึกษาวิชาความรู้กับพระเกจิอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงหลายๆ รูป อาทิตย์ • หลวงพ่อเนียม วัดน้อย อ.ปางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี • หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน (วัดใหม่อัมพวา) อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรบุรี ศิษย์รุ่นพี่สำนักหลวงพ่อเนียม • อาจารย์จีน วัดเจ้าเจ็ด ด้านพระปริยัติธรรมและภาษาบาลี • พระอาจารย์เจิ่น สำนักวัดสระเกศ กรุงเทพฯ ด้านคันถะธุระและวิปัสสนาธุระจนจบพระอภิธรรม 7 คัมภีร์      หลวงพ่อปานได้มีโอกาสร่ำเรียนวิชาจากชี ปะขาว เมื่อราวปี พ.ศ.2446 ระหว่างที่ท่านฝึกวิปัสสนากรรมฐานเพิ่มเติมที่ศาลาไว้ศพที่วัดบางนมโค ด้วยวิธีพิจารณา “อศุภกรรมฐาน” คือการพิจารณาศพคนตายเพื่อปลงสังขาร ชีปะขาวเดินเข้ามาหาและบอกกล่าวให้ท่านการสร้างพระพิมพ์รูปพระพุทธเจ้านั่ง สมาธิ มีรูปสัตว์ 6 ชนิดอยู่ใต้ที่ประทับคือ ไก่ ครุฑ หนุมาน ปลา เม่น และนก โดยนิมิตเป็นรูปสัตว์ต่างๆ ดังกล่าว พร้อมทั้งมีคาถากำกับในแต่ละชนิดมาด้วย นี่เองเป็นจุดเริ่มต้นรูปแบบการสร้างพระพิมพ์ของหลวงพ่อปาน การสร้างพระของหลวง พ่อปาน
กรรมวิธีในการสร้าง พระ หลวงพ่อปานท่านกล่าวว่า หัวใจสำคัญในการสร้างพระก็คือ “ผงวิเศษ” ที่บรรจุอยู่ในองค์พระการทำ “ผงวิเศษหัวใจสัตว์” จะกระทำในพระอุโบสถโดยนั่งสมาธิเขียนอักขระเลขยันต์หัวใจของสัตว์ต่างๆ ทั้ง 6 ชนิดที่หลวงพ่อปานเห็นมาในนิมิตแล้วลบผงวิเศษนี้ออกมา หัวใจนี้ท่านมิได้ถ่ายทอดให้กับผู้ใดเพราะถือเป็นวาสนาเฉพาะบุคคล มีหลวงพ่อปานเป็นคนแรกที่ทำได้และเป็นคนสุดท้ายไม่มีการสืบทอด การทำผงพระนี้ยากมากต้องมีสมาบัติ 8 รูป สัตว์ทั้ง 6 ชนิด คือ ไก่ ครุฑ หนุมาน ปลา เม่น และนก นั้น หากจะทำชนิดใดก็ต้องล็อกคาถาของสัตว์ชนิดนั้นมาทำผง เช่นจะทำพระขี่นก จะเอาผ้าขาวมาเสกให้เป็นนกแล้วกางปีกออก จะมีพระคาถาอยู่ในปีกแล้วล็อกพระคาถามาทำผง เมื่อได้ผงมาก็ต้องนั่งปลุกเสกในโบสถ์ อดข้าว 7 วัน 7 คืน ออกไปไหนไม่ได้เลยต้องเข้าสมาบัติตลอดขณะที่ปลุกเสกพระอยู่ในโบสถ์ จะมีการตั้งบาตรน้ำมนต์ไว้สี่มุม เวลาบริกรรมคาถาบรรดาคุณไสยต่างๆ ที่มีผู้กระทำมาในอากาศก็จะกระทบกับพระเวทย์ของหลวงพ่อปาน แล้วร่วงหล่นสู่บาตน้ำมนต์ มีเสียงดังอยู่ตลอดเวลา ถือเป็นการตัดไม้ข่มนามพวกคุณไสย ผงวิเศษนี้จึงสามารถป้องกันคุณไสยได้ ผง วิเศษสูตรที่ 2 หลวงพ่อปานท่านใช้ “ผงวิเศษจากยันต์เกราะเพชร” โดยตั้งสมาธิเขียนยันต์บนกระดานชนวน แล้วชักยันต์ขึ้นแล้วลบผงมา ต้องใช้ความพยายามและความอดทนอย่างสูงเพราะต้องใช้เวลายาวนานมากกว่าจะลบผง ออกมาได้และต้องถูกต้องทุกขั้นตอนตามที่ตำราระบุไว้จึงจะมีความขลังและ ศักดิ์สิทธิ์
ผงวิเศษสูตรสุดท้ายคือ “ผงวิเศษ 5 ประการ” ประกอบด้วย ผงอิทธิเจ ผงปถมัง ผงมหาราช ผงตรีนสิงเห และผงพระพุทธคุณ อันเป็นยอดของผงวิเศษที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) แห่งวัดระฆังฯ หลวงปู่ภู วัดอินทร์ และพระปิลันทน์ วัดระฆังฯ ใช้เป็นส่วนผสมในเนื้อมวลสารของพระเครื่องที่ท่านสร้าง อันทรงไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย หลวงพ่อ ปานใช้เวลาทำอยู่ตลอดพรรษาจนมีจำนวนมากพอผงวิเศษที่ได้มาทั้งหมดนี้ นับเป็นผงที่มีพุทธคุณเอกอนันต์ใช้งานสารพัดอย่างเป็นเลิศเรียกว่าเป็น “กฤตยาคมแฝด” ที่พระพิมพ์อื่นๆ ไม่มีขั้นตอนการสร้างองค์พระหลวงพ่อปานจะนำดินขุยปูและดินนวลหรือดินเหนียว ในทุ่งนาที่ขุดลงไปค่อนข้างลึกเพื่อให้ได้เนื้อดินที่ละเอียดซึ่งชาวบ้านหา มาให้นั้น มากรองบดและนวด ให้เนื้อดินเหนียวและเนียน จากนั้นแบ่งออกเป็นก้อนเล็กๆ นำไปกดกับแม่พิมพ์พระที่เตรียมไว้วิธีการนำพระออกจากแม่พิมพ์ของหลวงพ่อปาน ก็แตกต่างจากพระคณาจารย์ท่านอื่น คือจะใช้ไม้ไผ่เหลาให้ปลายแหลมๆ แล้วเสียบที่ด้านบนเศียรพระงัดพระออกจากพิมพ์ ซึ่งจะเกิดเป็น “ร” เพื่อบรรจุ “ผงวิเศษ”



ในปี พ.ศ.2446 นั้น หลวงพ่อปานดำริที่จะหาปัจจัยมาการดำเนินการปรับปรุงเสนาสนะภานในวัดบางนมโค และจะสร้างพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุแทนองค์เดิมที่ชำรุดทรุดโทรม แล้วท่านก็ได้พบชีปะขาวและท่านอาจารย์แสงดังกล่าวมาแล้วท่านตัดสินใจสร้าง พระเครื่องขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2450 ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากชาวบ้านอย่างเต็มที่ ผู้มีความรู้ทางช่างก็แกะแม่พิมพ์ถวาย บรรดาลูกศิษย์ก็ออกแสวงหาวัตถุมงคลต่างๆ มาให้ ทั้งว่านที่เป็นมงคลและมีสรรพคุณทางยา เกสรดอกไม้ที่เป็นมงคลนาม ดินขุยปูนา ตลอดจนพระพิมพ์โบราณที่ชำรุดแตกหัก เพื่อนำมาผสมเป็นเนื้อพระ พระพิมพ์ชุดนี้ศิลปะแม่พิมพ์ไม่สวยงามนักเนื่องจากเป็นช่างฝีมือชาวบ้าน เรียกกันว่า “พิมพ์โบราณ” สร้างเสร็จในปี พ.ศ.2451 จำนวนการสร้างไม่มากนัก ผู้มีไว้บูชาก็หวงแหน จึงหาดูได้ยากยิ่งนัก จะมีเล่นหากันอยู่ก็คือ “พิมพ์ขี่เม่น” (สมัยก่อนเรียก “พิมพ์ขี่หมู” เพราะตัวเม่นมองดูคล้ายหมูมากว่า) และ “พิมพ์ขี่ไก่” ซึ่งจะมีขนาดเล็กและบางกว่าพิมพ์มาตรฐานมาก การอุดผงจะอุดขอบพระด้านล่าง และเนื้อขององค์พระค่อนข่างแกร่ง ต่อมาจึงจัดหาช่างฝีมือดีมาแกะแม่ พิมพ์ใหม่ศิลปะแม่พิมพ์จึงสวยงามขึ้นมาก เราเรียกกันว่า “พิมพ์นิยม” หรือ “พิมพ์มาตรฐาน” สร้างแจกในปี พ.ศ.2460 พร้อมมีสลากกำกับวิธีการใช้พระให้ด้วยนับเป็นที่นิยมอย่างมากในแวดวงนักนิยม สะสมพระเครื่องในปัจจุบัน สนนราคาเป็นหลักแสนทีเดียวของทำเทียนเลียนแบบก็เยอะ หาดูของแท้ๆ ยาก เช่นกันนอกจาก “พระหลวงพ่อปาน” ซึ่งเป็นพระพิมพ์เนื้อดินเผาแล้ว หลวงพ่อปานยังได้สร้างวัตถุมองคลอื่นๆ เพื่อแจกจ่ายแก่ลูกศิษย์ลูกหาและพุทธศาสนิกชนทั่วไปโดยไม่คิดมูลค่าอีกด้วย อาทิ ผ้ายันต์เกราะเพชร ลูกอม ตะกรุด และแหวนพระ 
   
   
 
 
แสดงความเห็นต่อบทความนี้
User :
Pass :
ลืมรหัสผ่าน

 
 
© Copyright 2007 SIAM-SHOP.COM All Rights Reserved.