ฟรี ร้านค้า ออนไลน์ 54.198.200.128 : 29-03-24 11:48:24   
หน้าแรก siam-shop.com ค้นหาร้านค้าสมาชิก
ชื่อสินค้า  
    หมวดสินค้าของเรา            
  
 
Notebook
กระเป๋า
กล้องถ่ายรูป
กวดวิชา ติวเตอร์ ฝึกอบรม
การเกษตร
การเงิน&บัญชี
ก่อสร้าง
ของที่ระลึกจากภาพยนตร์
ความงามและสุขภาพ
คอมพิวเตอร์
จตุคาม
จักรยาน&จักรยานยนต์
ตกแต่ง ซ่อมแซม
ตั๋ว&บัตร
ตุ๊กตา&ของเล่น
ที่ดิน
ที่พัก โรงแรม รีสอร์ท
ท่องเที่ยว
ธนบัตร&เหรียญ ของสะสม
นวนิยาย
บริการถ่ายภาพ
บ้าน
ประกันภัย&ประกันชีวิต
พระ
รถ รถตู้ให้เช่า
รถยนต์ ประดับยนต์
ล้อแม็กรถยนต์
วัตถุมงคล
สัตว์เลี้ยง
สำนักงาน
สินค้า หรือ บริการทั่วไป
หนังสือ
หนังสือการ์ตูน
หนังสือคอมฯ
หนังสือออกใหม่
ห้องซ้อมดนตรี
ห้องพัก หอพัก
อาคารชุด
อาคารพานิชย์
อินเตอร์เนต
อุปกรณ์ เครื่องเขียน แบบเรียน
อุปกรณ์กีฬา
อุปกรณ์ต่อพ่วงคอมพิวเตอร์
อุปกรณ์และของใช้ในบ้าน
เกมส์
เครื่องดนตรี กีตาร์ กลอง
เครื่องดนตรี คีย์บอร์ด เปียนโน
เครื่องถ่ายเอกสาร
เครื่องประดับ
เครื่องใช้ไฟฟ้า
เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย
โชว์ การแสดง
โต๊ะ เก้าอี้
โทรศัพท์&อุปกรณ์เสริม
โทรสาร
โน๊ตเพลง

  สปอนเซอร์ของเรา
   
   
   

พรบ หลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์  

 
พรบ หลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์
 
วิเคราะห์ หลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ พ.ศ 2550

Posted by ผึ้งนรก , ผู้อ่าน : 17 , 16:06:36 น.

อาทิตย์ที่แล้ว มีเรื่องร้อนแรงหลักจาก ICT มีแผน ออก ประกาศ หลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ พ.ศ 2550

คือ หลังจากที่ได้อ่านรายละเอียด และ ได้ฟังความเห็นจากหลาย ๆ ท่าน รวมทั้งได้เข้าประชุมกับสมาคม E-commerce เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา เห็นประเด็นที่น่าเป็นห่วงในรายละเอียดข้อมูลที่ให้เก็บของ ICT ที่กำหนด ในส่วนของ เว็บ และ E-commerce ผมแนบไฟล์หน้าที่เป็นประเด็น ไว้ในกระทู้นี้ด้วย ซึ่งหากว่าปล่อยให้มีการบังคับใช้ ตามนั้น จะมีผลอย่างใหญ่หลวงต่อ คนเล่นเน็ต ทุก ๆ คน ไม่เพียงแค่เว็บเท่านั้น และ ยังดำเนินกิจกรรม ที่ฝืนกระแสโลก ไปจนถึงอาจจะมีผลถึงมุมมองของสากลโลก ที่มองกลับมายังประเทศเรา รวมทั้งข้อกังขา เรื่องเสรีภาพของบุคคล

ในส่วนของเว็บในหน้า 10


และ ส่วนของ E -commerce ในหน้า 11


" (2) บันทึกข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ที่แสดงการเข้าถึงของเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย หรือ เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้บริการที่เข้าสู่เว็บไซท์ท่า ซึ่งระบุถึงตัวตนและสิทธิในการเข้าถึงเครือข่ายได้ และ/ หรือ ข้อมูล การใช้บริการเว็บไซด์ท่าประเภทต่าง ๆ ตัวอย่าง เช่น วัน เวลาในการเข้าใช้ระบบ(log in) และการออกจากระบบ (log off) หมายเลขที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต หรือไอพีแอดเดรสของเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้บริการของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (IP Address) เป็นต้น

กรณีผู้ให้บริการเว็บบอร์ต ( Web Board) หรือ ผู้ให้บริการบล็อก (Blog) ให้เก็บข้อมูลของผู้ประกาศ (Post) ข้อมูล ชื่อ สกุล รหัสประจำตัวประชาชนของผู้ใช้บริการหรือเอกสารอื่นที่มีผลใช้บังคับได้ตามกฏหมาย หรือรหัสประจำตัวผู้ใช้ เท่าที่สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการได้ และ/หรือ เลขบัญชีธนาคารของผู้ใช้บริการ และ/หรือ ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการชำระเงิน (ถ้ามี) เช่น เลขบัญชีธนาคาร หรือ เลขบัตรเครดิต และ/ หรือข้อมูลที่สามารถแสดงถึงการซื้อขายสินค้า หรือบริการ

(3) กรณีผู้ให้บริการเว็บบอร์ต ( web board) หรือ ผู้ให้บริการบล็อก (Blog) ให้เก็บข้อมูลของผู้ที่ตั้งกระทู้ หรือ ประกาศปิดข้อความ (Post) บนเว็บไซท์หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ "


ประเด็นที่อ่านแล้วเป็นปัญหามากที่สุดคือ ย่อหน้าที่ 2 ซึ่งระบุว่า " ให้เก็บข้อมูลของผู้ประกาศ (Post) ข้อมูล ชื่อ สกุล รหัสประจำตัวประชาชนของผู้ใช้บริการหรือเอกสารอื่นที่มีผลใช้บังคับได้ตามกฏหมาย "

ซึ่งแม้ว่าผม จะเรียนด้านกฏหมายมาแต่ก็ยังเห็นว่า ระเบียบ ยังคงกำกวม และมุ่งจุดประสงค์ไปในแนวให้ผู้ให้บริการ มี " หน้าที่ " เก็บ ชื่อ สกุล รหัสประจำตัวประชาชน ....... แล้วทีนี้ ถ้าเราเก็บ หรือ ไม่เก็บจะมีผลอย่างไร


***** สมมุติว่า ไม่เก็บ จะเกิดอะไรขึ้น ?????

อ้างถึงมาตรา 26 ใน พรบ ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐

" มาตรา ๒๖ ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน
นับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจําเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ผู้ ให้บริการ
ผู้ใดเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร้ไว้เกินเก้าสิบวันแต่ไม่เกินหนึ่งปี เป็นกรณีพิ เศษเฉพาะรายและเฉพาะคราวก็ได้

ผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการเท่าที่ จําเป็นเพื่อให้ สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการ
นับตั้งแต่เริ่มใช้บริการและต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง
ความในวรรคหนึ่งจะใช้กับผู้ให้บริการประเภทใด อย่างไร และเมื่อใด ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรี
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ผู้ให้บริการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท "

ถ้าไม่ทำ ก็คือ ผิดตาม พรบ ทันที โทษที่ ผู้ดูแลเว็บ เราต้องเจอคือ ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท


***** สมมุติว่า เก็บ จะเกิดอะไรขึ้น ?????

ถ้าเกิดมีการบังคับให้ ทุกเว็บ เก็บ " คือ เว็บใดที่มี การให้แสดงความเห็นถือว่าเข้าข่าย ทั้งสิ้น " ง่าย ๆ คือ ทุกเว็บนั้นแหละต้องมี ชื่อ นามสกุล และเลขบัตรประจำตัวประชาชน ปัญหาที่ตามมาแบบ Basic คือ

1 ถ้าเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 จะให้ทำอย่างไร ?

2 ชาวต่างชาติต้องทำอย่างไร ?

3 เว็บทั้งประเทศ ต้องเป็นระบบ Member ทั้งหมดในการแสดงความเห็น

4 ข้อมูลนะเก็บได้ แต่ ความถูกต้องของข้อมูล จริงหรือไม่ ? ไม่สามารถตรวจสอบได้ ซึ่งจะนำไปสู่


               4.1 รายชื่อ Fake และ เลขประจำตัว Fake มากมายก่ายกอง ที่ไม่สามารถ Clean ได้ ( ปัจจุบันก็มีอยู่แล้ว )

               4.2 คนเล่นเว็บบอร์ตแสดงความเห็น จะมุดลงใต้ดิน และ ออกไปสร้างกลุ่ม webboard ในต่างประเทศ ซึ่งจะไม่สามารถตรวจสอบได้และควบคุมยากยิ่งกว่าเดิมหลายเท่าตัว

               4.3 ง่ายต่อการกลั่นแกล้งกัน ยกตัวอย่างเช่น

นาย A ทำงานอยู่บริษัทเดียวกับ นาย B , A เกลียดขี้หน้า B อย่างมาก จึงไปสมัครเว็บบอร์ตที่คุยเรื่องการเมืองแห่งนึงโดยใช้ชื่อ B และใส่เลขบัตรประจำตัวประชาชนไว้ด้วย ซึ่งก็หาได้ไม่ยากเย็นนัก ถ้าจะหาจริง ๆ จากนั้น A ก็ login เป็นชื่อ นาย B เข้าไปโพส ด่า รัฐบาล อย่างไร้เหตุผลทุกวัน

จากตัวอย่างข้างต้น ในเบื้องต้น ข้อมูลชื่อ นาม สกุล และ IP ต่างชี้มาที่ นาย B โดยพร้อมเพียงกัน การมุ่งมองว่า ให้ " ให้เก็บข้อมูลของผู้ประกาศ (Post) ข้อมูล ชื่อ สกุล รหัสประจำตัวประชาชนของผู้ใช้บริการหรือเอกสารอื่นที่มีผลใช้บังคับได้ตามกฏหมาย " ย่อมง่ายต่อการให้บุคคล ๆ หนึ่งเป็นเป้าหมายในการโดนเพ่งเล็งว่าเป็นผู้กระทำผิด ในขณะที่ข้อมูล ไม่สามารถ พิสูจน์ ความเป็นตัวตนแท้จริง ของผู้กระทำผิดได้

              4.4 ผู้ใช้บริการที่ประสงค์จะไม่เปิดเผยตัว มีความเสี่ยงมากขึ้น

ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มผู้ป่วยโรคเอดส์ , กลุ่มผู้มีปัญหาเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ถ้าต้องการแสดงความเห็นหรือ สอบถามจากเว็บเฉพาะกลุ่ม ย่อมไม่อยากจะแสดงตัวออกมา การบังคับให้ กรอก ชื่อ นามสกุล เลขบัตร ประชาชน ย่อมเสี่ยงที่จะเป็นเปิดเผยข้อมูล ซึ่งอาจจะทำให้ ผู้ใช้บริการได้รับความเสื่อมเสียชื่อเสียงในภายหลังได้ง่าย


-----------------------------------------------------------------

           การที่บางเว็บไซด์ เช่น oknation.net หรือ pantip.com เก็บข้อมูลพวก เลขบัตรประชาชน มักมีวัตถุประสงค์เพื่อกรองจำนวนผุ้ใช้งานที่แท้จริง ซึ่ง เป็นคนละวัตถุประสงค์ กับตามกฏหมาย ที่ประสงค์ให้เก็บเป็น " หลักฐาน " ผู้ใช้งานที่ไม่พอใจ ย่อมไปเลือกใช้งานเว็บไซด์อื่น ๆ ได้ หากแต่ว่าถ้ามี กฏหมายบังคับ ให้ทุก ๆ เว็บไซด์นั้น ทำตามนี้ คนที่มีข้อจำกัดในการแสดงตัว ก็จะไหล ออกไปใช้เว็บไซด์ ในต่างประเทศแทน ซึ่ง จะเป็นเรื่องยากยิ่งกว่าในการ ติดตามในกรณีมีความเสียหายเกิดขึ้น

         ตาม ความเห็นส่วนตัว การเก็บหรือไม่เก็บ ไม่สามารถพิสูจน์การใช้งานทางวิทยาศาสตร์ได้ เพราะขาดขั้นตอน การยืนยันตัวบุคคลที่ถูกต้องแท้จริงไป หากว่าเราคิดจะแก้ปัญหา จริง ๆ แล้ว การให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูล physical ในระดับเว็บจะเป็นการยืนยันที่ดีกว่า เช่น ข้อมูล IP ภายใน และภายนอก ในการเข้าใช้งาน , เวลาที่เข้าใช้งาน เป็นต้น

          โดยรวมผมสนับสนุน กฏหมาย พรบ ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ ซึ่งถูกออกแบบไว้อย่างเป็นกลาง ทีเดียว ไว้ใช้บังคับผู้กระทำผิดจริง ๆ หากแต่ในประกาศ เพิ่มเติม ตามเนื้อหา ที่ได้เห็น ทำให้เห็นวัตถุประสงค์ ทางการเมือง แอบแฝง ซึ่งหากว่า ไม่ได้มีการรับฟังความคิดเห็นจาก ประชาชน ผู้จะต้องถูกบังคับใช้ก่อน ก็ไม่น่าจะเป็นธรรมกับผู้ถูกบังคับใช้เท่าไหร่



ที่มา http://www.oknation.net/blog/bee/2007/07/11/entry-1

   
   
 
 
แสดงความเห็นต่อบทความนี้
User :
Pass :
ลืมรหัสผ่าน

 
 
© Copyright 2007 SIAM-SHOP.COM All Rights Reserved.