ฟรี ร้านค้า ออนไลน์ 3.15.156.140 : 25-04-24 20:44:57   
หน้าแรก siam-shop.com ค้นหาร้านค้าสมาชิก
ชื่อสินค้า  
    หมวดสินค้าของเรา            
  
 
Notebook
กระเป๋า
กล้องถ่ายรูป
กวดวิชา ติวเตอร์ ฝึกอบรม
การเกษตร
การเงิน&บัญชี
ก่อสร้าง
ของที่ระลึกจากภาพยนตร์
ความงามและสุขภาพ
คอมพิวเตอร์
จตุคาม
จักรยาน&จักรยานยนต์
ตกแต่ง ซ่อมแซม
ตั๋ว&บัตร
ตุ๊กตา&ของเล่น
ที่ดิน
ที่พัก โรงแรม รีสอร์ท
ท่องเที่ยว
ธนบัตร&เหรียญ ของสะสม
นวนิยาย
บริการถ่ายภาพ
บ้าน
ประกันภัย&ประกันชีวิต
พระ
รถ รถตู้ให้เช่า
รถยนต์ ประดับยนต์
ล้อแม็กรถยนต์
วัตถุมงคล
สัตว์เลี้ยง
สำนักงาน
สินค้า หรือ บริการทั่วไป
หนังสือ
หนังสือการ์ตูน
หนังสือคอมฯ
หนังสือออกใหม่
ห้องซ้อมดนตรี
ห้องพัก หอพัก
อาคารชุด
อาคารพานิชย์
อินเตอร์เนต
อุปกรณ์ เครื่องเขียน แบบเรียน
อุปกรณ์กีฬา
อุปกรณ์ต่อพ่วงคอมพิวเตอร์
อุปกรณ์และของใช้ในบ้าน
เกมส์
เครื่องดนตรี กีตาร์ กลอง
เครื่องดนตรี คีย์บอร์ด เปียนโน
เครื่องถ่ายเอกสาร
เครื่องประดับ
เครื่องใช้ไฟฟ้า
เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย
โชว์ การแสดง
โต๊ะ เก้าอี้
โทรศัพท์&อุปกรณ์เสริม
โทรสาร
โน๊ตเพลง

  สปอนเซอร์ของเรา
   
   
   

การใช้สิทธิซีแอลต่อไปเพื่อคนไทยเข้าถึงยา  

 
การใช้สิทธิซีแอลต่อไปเพื่อคนไทยเข้าถึงยา
 
การใช้สิทธิซีแอลต่อไปเพื่อคนไทยเข้าถึงยา

การประกาศเลื่อนระดับสถานะคู่ค้าของประเทศไทยโดยสหรัฐอเมริกา จากประเทศที่ต้องถูกจับตามอง (ดัลเบิลยูแอล) เป็นประเทศที่ต้องถูกจับตามองเป็นพิเศษ (พีดับเบิลยูแอล)

ประกอบกับสาระที่ปรากฏเพื่อแสดงเหตุผลในการเลื่อนระดับเป็นการแสดงออกที่มีลักษณะสำคัญ 3 ประการ คือ หนึ่ง สหรัฐต้องการแสดงว่า มีฐานะในการเจรจาที่เหนือกว่า เพื่อเป็นหลักประกันว่า ในการเจรจาต่อรองนั้นผู้เจรจาต้องเป็นฝ่ายยอม ในการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์มากกว่าที่จะเป็นฝ่ายรุก หรือให้ผู้เจรจาเป็นผู้ปฏิบัติตาม สอง เป็นการเตือนให้หยุดการทำสิ่งต่างๆ ที่สหรัฐไม่พอใจ ไม่ชอบ เนื่องจากแม้คุณจะทำถูกฎหมายและศีลธรรม แต่ถ้าเราไม่ชอบ หรือเสียผลประโยชน์แล้ว คุณต้องหยุด สาม สหรัฐต้องการที่จะนำข้อเสนอที่ยังไม่ได้รับการปฏิบัติมารุกในการเจรจาต่อรอง ในการจัดทำแผนปฏิบัติการระหว่างไทย-สหรัฐ ที่กำลังจะเกิดขึ้น

 แม้จะมีหลายฝ่ายกังวลต่อท่าทีดังกล่าว แต่ก็มีข้อสังเกตว่า ในระยะหลังๆ การดำเนินการเพื่อปกป้องสิทธิ สุขภาพ ของประชาชนในการเข้าถึงยา ภาคส่วนต่างๆ มีความเข้าใจเรื่องบทบาทหน้าที่ในการพิทักษ์สิทธิดังกล่าวมากยิ่งขึ้น

 การต่อรองมิให้สหรัฐเรียกร้องเพื่อการผูกขาดทรัพย์สินทางปัญญาด้านยาในอดีตที่ผ่านมา อาจจำกัดอยู่ในแวดวงวิชาการ บุคลากรสุขภาพ และอุตสาหกรรมผลิตยาในประเทศ เหตุผลในการเรียกร้อง มักจะถูกกลบเกลื่อนให้หมดความสำคัญ โดยอ้างว่าเป็นการคาดการณ์ เช่น ที่ผ่านมา ผู้คัดค้านเรื่องสิทธิบัตรยา ให้เหตุผลว่า ยาจะมีราคาแพงขึ้น อุตสาหกรรมยาไทยจะถดถอย การนำเข้ายาจะเป็นสัดส่วนหลักของค่าใช้จ่ายด้านยา

 สิ่งเหล่านี้เห็นได้ไม่ชัดในปี 2535 ในตอนที่จะมีการเพิ่มเรื่องยาเข้าไปในพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) สิทธิบัตร แต่ปัจจุบันเหตุผลเหล่านี้ปรากฏให้เห็นเชิงประจักษ์ ยาบางรายการผู้ป่วยต้องจ่ายเดือนละกว่าแสนบาท อุตสาหกรรมยาไทยมีรายได้ร้อยละ 30 จากอดีตมีถึงร้อยละ 70 ของค่ายาทั้งหมด ตรงกันกันข้ามกับสัดส่วนการนำเข้ายาจากต่างประเทศ อุตสาหกรรมยาในประเทศ ต้องแข่งขันในตัวยาเดิมๆ เพราะกว่าจะหมดสิทธิบัตร บริษัทยาก็ทำให้ยาเหล่านั้นหมดคุณค่าด้วยกลยุทธ์การตลาดต่างๆ สิ่งที่เห็นชัด คือ ความตื่นตัวของผู้ได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ (ประเทศไทย) ที่ได้เรียกร้องสิทธิสุขภาพ และสนับสนุนการใช้สิทธิซีแอลอย่างแข็งขัน

 โดยความจริงแล้ว ผลกระทบในการเข้าไม่ถึงยาเป็นปัญหาระดับโลก ประชากรที่ติดเชื้อเอดส์ในแอฟริกากว่า 5 ล้านคน ยังไม่ได้รับยา แม่และเด็กที่ติดเชื้ออีกร้อยละ 10-15 ยังไม่ได้รับยา แม้ประเทศพัฒนาแล้วอย่างเกาหลีใต้ ที่มีผู้ติดเชื้อที่ได้รับยาแค่ 4 พันกว่าคน ในระบบประกันสุขภาพ แต่ก็ไม่มีโอกาสใช้ยาใหม่ที่มีราคาแพง เนื่องจากรัฐบาลเกาหลีใต้ไม่มีความกล้าหาญที่จะพิทักษ์สิทธิในการเข้าถึงยาของผู้ป่วย ซึ่งแตกต่างจากมาเลเซีย ที่มีผู้ป่วยในจำนวนใกล้เคียงกัน แต่กลับใช้สิทธิซีแอล 

 ในขณะที่ฐานะของประเทศไทยในเวทีโลกสูงขึ้นจากบทบาทผู้นำในการใช้สิทธิซีแอล สหรัฐในฐานะคู่การค้าย่อมเห็นว่า ภาวะดังกล่าวเป็นภาวะคุกคาม โดยเห็นว่า หากไทยได้ประโยชน์แล้ว ตนเองจะเสียประโยชน์ ทั้งที่โดยข้อเท็จจริงผู้ป่วยที่จะใช้ยาจากซีแอล เป็นผู้ที่ไม่มีโอกาสจะได้ใช้ยามาก่อน และประเทศไทยมีส่วนแบ่งตลาดยาในโลกไม่ถึง 1% แต่เรื่องดังกล่าวถูกทำให้ดูเป็นเรื่องพิเศษ เป็นการกระทำที่ "ไม่โปร่งใส และไม่ถูกต้อง" ดังปรากฏในเหตุผลการเลื่อนระดับเป็นพีดับเบิลยูแอล 

 ความพยายามเหล่านี้จึงเป็นความพยายามที่จะ "คงสถานะการเจรจา" ที่จะมีต่อไป ให้มีสถานะเหนือกว่า เป็นฝ่ายรุก และคู่เจรจาจะต้องยอม เนื่องจากเป็นผู้ถูกทำให้ผิดโดยไม่โปร่งใสและไม่ถูกต้อง

 การเตือนให้หยุดใช้สิทธิซีแอลต่อไป เห็นได้ชัดจากการขยายความในคำพูดว่า แม้จะถูกกฎหมายและจำเป็น แต่น่าจะมีการเจรจาและหาทางเลือกอื่นๆ บางทีก็กล่าวว่า การเลื่อนฐานะเป็นพีดับเบิลยูแอล ไม่เกี่ยวกับการใช้สิทธิไม่ใช่เรื่องหลัก แต่กลับกล่าวว่า "เป็นส่วนหนึ่ง"

 ความพยายามทำให้คลุมเครือนี้ ก็เนื่องด้วยกระทรวงสาธารณสุขไทยได้ใช้ปัญญาในการต่อสู้เพื่อใช้สิทธิ มีการเตรียมทำซีแอลที่เป็นระบบ ตลอดจนได้รับการสนับสนุนจากประชาชนอย่างกว้างขวาง ดังนั้น หากมีการหยุดประกาศใช้สิทธิ ก็จะถือได้ว่า คำประกาศพีดับเบิลยูแอลของสหรัฐ มีผลในทางปฏิบัติทันที

 สิ่งสำคัญที่สุด คือ ปฏิบัติการเชิงรุก โดยการระบุเนื้อหาที่มาจากสาระในร่างข้อตกลงการค้าเสรีไทยสหรัฐ เช่น สิทธิการครอบครองข้อมูลยา (Data Exclusivity) ไว้ในเหตุผลในการเลื่อนระดับพีดับเบิลยูแอล เป็นการเปิดเกมเพิ่มเนื้อหาที่เกี่ยวกับเอฟทีเอไทย-สหรัฐ ที่เกี่ยวกับยา ที่ได้ถูกเลื่อนออกไป เนื่องจากยังไม่มีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง

 จากท่าทีของสหรัฐที่ต้องการแสดงฐานะเหนือคู่เจรจา การเตือนให้หยุดและการรุกคืบต่อรองผลประโยชน์ด้านยาจากพิมพ์เขียวในเอฟทีเอที่เกี่ยวกับยา จึงเห็นได้ชัดเจนว่า ภาคส่วนต่างๆ ที่สนับสนุนการใช้ซีแอล ต้องพิจารณาท่าทีดังกล่าวให้ชัดเจน และผลักดันให้รัฐบาลกำหนดท่าทีต่อการเจรจากับสหรัฐ โดยเฉพาะในเรื่อง แผนปฏิบัติการ (Plan of Action) ที่จะต่อรองให้สหรัฐคืนสถานภาพจากพีดับเบิลยูแอล เป็นดับเบิลยูแอล เหมือนเดิม ข้อเสนอต่อท่าทีของประเทศไทย ได้แก่ ความเสมอภาคในการเจรจา การเดินหน้าช้สิทธิซีแอลต่อไป และการไม่ยอมให้เรื่องยาเข้ามาเกี่ยวข้องในการเจรจาต่อรอง

 1.ความเสมอภาคในการเจรจา ประเทศไทยต้องมีศักดิ์ศรี โดยการดำเนินการอย่างสุภาพบุรุษที่เคารพกติกาสากล และกฎหมายของประเทศ ไม่หวาดกลัวต่อ "กุ้งฝอยจีเอสพี"

 วรตุลย์ ตุลารักษ์ ในโครงการ FTAdigest/สกว. กล่าวว่า ไม่ควรสนใจคำขู่ของสหรัฐในการทำเอฟทีเอ แม้สหรัฐยกเลิกจีเอสพี ผู้ประกอบการก็สามารถส่งออกได้ ในอัตราค่าภาษีนำเข้าปกติ แม้ไม่สูงแต่ก็สามารถแข่งขันได้ แน่นอนว่า ไทยไม่ควรเสียจีเอสพีเพราะไม่ได้ทำอะไรผิด แต่อาจทำให้สหรัฐไม่พอใจ การเจรจาแบบมิตรจึงต้องเคารพศักดิ์ศรีต่อกัน มากกว่ายอมให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเหนือกว่าในการเจรจา

 2.การเดินหน้าใช้สิทธิซีแอลต่อไป ได้แก่ การสื่อสารกับสังคมให้เข้าใจในบทบาทของรัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุข ต่อการใช้ซีแอล ไม่มีการยกเลิกการใช้ซีแอลที่ได้ทำไปแล้ว และพิจารณาความจำเป็นในการใช้ซีแอล กับยาที่จำเป็นต่อผู้ป่วยต่อไป

 3.การไม่ยอมให้เรื่องยาเข้ามาเกี่ยวข้องในการเจรจาต่อรอง ถือเป็นประเด็นสำคัญมาก ก่อนหน้าการเจรจาเอฟทีเอไทย-สหรัฐ ทั้งฝ่ายสหรัฐและผู้เกี่ยวข้องฝ่ายไทย ไม่ยอมเปิดเผยร่างข้อตกลง ด้วยเกรงว่าจะมีผู้คัดค้านข้อตกลงที่เกี่ยวกับสิทธิบัตรยา ได้แก่ การขยายอายุสิทธิบัตร การตัดการคัดค้านก่อนการออกสิทธิบัตร สิทธิการครอบครองข้อมูลยาและการจำกัดสิทธิซีแอล รวมถึงให้สิทธิบัตรการผ่าตัดและวินิฉัยโรค

 มาบัดนี้เห็นชัดแล้วว่า การเจรจาของสหรัฐ มุ่งประเด็นเรื่องการขยายการผูกขาดยาให้ครอบคลุมและเข้มข้นมากยิ่งขึ้น ความเพลี่ยงพล้ำจากการยอมแก้ไข พ.ร.บ.สิทธิบัตร ให้ครอบคลุมยา ทำให้ไทยล้าหลังกว่าประเทศจีนและอินเดีย ที่เพิ่งมีการใช้ พ.ร.บ.สิทธิบัตรที่เกี่ยวยาเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ในขณะที่ไทยยอมรับไปกว่าสิบปีก่อนหน้า ในการเจรจาแผนปฏิบัติการจะต้องไม่ยอมให้สหรัฐนำข้อต่อรองเกี่ยวยาเข้ามาในการเจรจา

 เมื่อภาคประชาสังคมได้แสดงบทบาทอย่างแข็งขันที่จะสู้ไม่หยุด และสนับสนุนการใช้สิทธิซีแอลต่อไป เพื่อคนไทยเข้าถึงยา ก็คงต้องหวังว่า รัฐบาลและฝ่ายราชการ จะ "สู้ไม่หยุด" ต่อไปในเรื่องดังกล่าวเช่นกัน

+

รศ.ดร.วิทยา กุลสมบูรณ์

คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

   
   
 
 
 
ความเห็นที่ 1[ 24]
 

ได้ยาถูกก็ดีครับ


แต่ระวังปัญหาการเมือง

 

- [ 2007-05-31 13:43:38 ]
   
แสดงความเห็นต่อบทความนี้
User :
Pass :
ลืมรหัสผ่าน

 
 
© Copyright 2007 SIAM-SHOP.COM All Rights Reserved.