ฟรี ร้านค้า ออนไลน์ 107.21.176.63 : 28-03-24 19:27:01   
หน้าแรก siam-shop.com ค้นหาร้านค้าสมาชิก
ชื่อสินค้า  
    หมวดสินค้าของเรา            
  
 
Notebook
กระเป๋า
กล้องถ่ายรูป
กวดวิชา ติวเตอร์ ฝึกอบรม
การเกษตร
การเงิน&บัญชี
ก่อสร้าง
ของที่ระลึกจากภาพยนตร์
ความงามและสุขภาพ
คอมพิวเตอร์
จตุคาม
จักรยาน&จักรยานยนต์
ตกแต่ง ซ่อมแซม
ตั๋ว&บัตร
ตุ๊กตา&ของเล่น
ที่ดิน
ที่พัก โรงแรม รีสอร์ท
ท่องเที่ยว
ธนบัตร&เหรียญ ของสะสม
นวนิยาย
บริการถ่ายภาพ
บ้าน
ประกันภัย&ประกันชีวิต
พระ
รถ รถตู้ให้เช่า
รถยนต์ ประดับยนต์
ล้อแม็กรถยนต์
วัตถุมงคล
สัตว์เลี้ยง
สำนักงาน
สินค้า หรือ บริการทั่วไป
หนังสือ
หนังสือการ์ตูน
หนังสือคอมฯ
หนังสือออกใหม่
ห้องซ้อมดนตรี
ห้องพัก หอพัก
อาคารชุด
อาคารพานิชย์
อินเตอร์เนต
อุปกรณ์ เครื่องเขียน แบบเรียน
อุปกรณ์กีฬา
อุปกรณ์ต่อพ่วงคอมพิวเตอร์
อุปกรณ์และของใช้ในบ้าน
เกมส์
เครื่องดนตรี กีตาร์ กลอง
เครื่องดนตรี คีย์บอร์ด เปียนโน
เครื่องถ่ายเอกสาร
เครื่องประดับ
เครื่องใช้ไฟฟ้า
เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย
โชว์ การแสดง
โต๊ะ เก้าอี้
โทรศัพท์&อุปกรณ์เสริม
โทรสาร
โน๊ตเพลง

  สปอนเซอร์ของเรา
   
   
   

ความรู้เกี๋ยวกับไข่มุก  

 
ความรู้เกี๋ยวกับไข่มุก
 

ไข่มุก

ไข่มุกเป็นอัญมณีชนิดเดียวที่กำเนิดจากสิ่งมีชีวิต และเป็นหนึ่งในรัตนชาติ ที่ชอบนำมาเป็นเครื่องประดับมาช้านาน ไข่มุกเกิดจากหอยชนิดหนึ่ง เรียกว่า หอยมุก ซึ่วมีทั้งหอยฝาเดียวและหอยสองฝา แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. ไข่มุกธรรมชาติ ซึ่งเกิดเองตามธรรมชาติ
2. ไข่มุกเลี้ยง

สาระน่ารู้

     ไข่มุกธรรมชาติเกิดจากในขณะที่หอยมุกกินอาหาร อาจมีกรวดทรายปะปนเข้าไป จึงต้องปล่อยเมือกซึ่งมีส่วนประกอบของแคลเซียมคาร์บอเนตออกมาเคลือบสิ่งแปลกปลอมเพื่อลดการระคายเคือง จนเป็นไข่มุกที่มีลักษณะแข็งแรง แวววาวมาก ไม่กลม มักบิดเบี้ยว ขึ้นอยู่กับวัสดุที่เล็ดลอดเข้าไปในตัวหอยว่ามีลักษณะเดิมเป็นเช่นใด มุกธรรมชาติเป็นของหายาก และเป็นเครื่องประดับที่แพงที่สุดในโลก ด้วยเหตุนี้เองจึงมีผู้ค้นคิดการเพาะเลี้ยงหอยมุก

         ผู้ผลิตประสบความสำเร็จคนแรกคือ นายโคคิชิ มิกิโมโตะ ได้นำมาดัดแปลงเอาหอยมุกขัดเป็นเม็ดกลมๆ เข้าไปในฝามุก เกิดเป็นมุกเลี้ยงมีสีสวยงาม หอยมุกที่นำมาเลี้ยงมีทั้งหอยทะเลและหอยน้ำจืด แต่ที่นิยมคือ หอยสองฝาเพราะมีเมือกเยอะ ไข่มุกเลี้ยงเรียกอีกอย่างว่า culture pearl

หอยมุกน้ำจืด จัดเป็นหอยประเภทสองฝา มีขนาดใหญ่ เปลือกหนา และภายในมีความแวววาวของชั้นมุก (nacreous layer) ซึ่งนอกจากจะมีบทบาทสำคัญในระบบนิเวศน์ทางน้ำแล้ว ยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์อีกหลายด้าน เช่น การนำเนื้อมาใช้เป็นอาหารของคนและสัตว์ การนำเปลือกมาทำเป็นเครื่องประดับ เครื่องใช้ เครื่องเรือนประดับมุก นอกจากนี้ยังนำมาใช้ในการผลิตไข่มุกน้ำจืด เพื่อใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมอัญมณี เครื่องสำอาง และยา (Binhe, 1984)

การเพาะเลี้ยงไข่มุกน้ำจืดในประเทศไทย
ไข่มุกเป็นอัญมณีจากสิ่งมีชีวิต ประกอบด้วยผลึกของสารประกอบ CaCO3 ที่เรียกว่า aragonite 82-86 % อินทรียสารจำพวกโปรตีนที่เรียกว่า conchiolin 10-14 % และน้ำ 2-4 % ไข่มุกมีความแข็ง (hardness) 3.5-4.5 และมีความถ่วงจำเพาะ (specific gravity) 2.7 (Ram,1997)

ประเภทไข่มุก
1. ไข่มุกธรรมชาติ (natural pearl)
เป็นไข่มุกที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ จากการที่มีวัสดุแปลกปลอมพลัดเข้าไปอยู่ระหว่างชั้น mantle กับชั้น nacreous ของเปลือก หรืออยู่ในระหว่างเยื่อบุผิวของชั้น mantle ด้วยกันทำให้เกิดการระคายเคืองและหอยจะขับสารมุกออกมาคลุมวัสดุนั้นจนเกิดเป็นไข่มุกขึ้นเองตามธรรมชาติ
2. ไข่มุกเลี้ยง (culture pearl)
จากความรู้ทางทฤษฎีในการเกิดไข่มุกได้นำมาสู่ขบวนการเพาะเลี้ยงไข่มุกโดยวิธีการนำวัสดุแปลกปลอมใส่เข้าไปในตัวหอยแล้วจึงนำหอยไปเลี้ยงต่อจนกว่าสารมุกที่ขับออกมาจะมีความหนาจนได้ไข่มุกที่มีขนาดและความแวววาวสวยงามเป็นที่ต้องการของตลาด ไข่มุกเลี้ยงสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

2.1 ไข่มุกซีกและไข่มุกครึ่งวงกลม (hemispherical pearl หรือ half pearl)
ไข่มุกประเภทนี้ มีลักษณะเป็นครึ่งทรงกลมและมีด้านหนึ่งแบน เกิดจากการนำแกนกลาง (nucleus) ซึ่งสามารถทำขึ้นได้จากวัสดุหลายชนิด เช่น เม็ดพลาสติก เม็ดแก้ว หรือ เปลือกหอยที่มีความหนา นำมากลึงให้เป็นรูปครึ่งทรงกลม แล้วนำด้านแบนของแกนกลางนี้ไปติดไว้กับเปลือกหอยด้านใน ดังนั้นแกนกลางที่ใส่เข้าไปก็จะอยู่ตรงกลางระหว่างแผ่น mantle กันชั้น nacreous ของเปลือกหอย ซึ่งจะทำให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นขับสารมุกมาเคลือบแกน ในที่สุดก็จะได้ไข่มุกซีกมีลักษณะเป็นครึ่งทรงกลมตามรูปร่างของแกนกลาง

2.2 ไข่มุกเดี่ยว (spherical pearl)
ไข่มุกเดี่ยวมีลักษณะที่แตกต่างไปจากไข่มุกซีก คือ จะไม่มีส่วนใดติดกับเปลือกหอย แบ่งออกได้เป็นอีก 2 ประเภท คือ
- ไข่มุกแบบไม่มีแกน (non-nucleated pearl)
เป็นไข่มุกที่ได้จากผ่าตัดฝังชิ้นเนื้อ mantle ของหอยให้เนื้อเยื่อ (donor หรือ cell mussel) ลงไปในระหว่างชั้น inner กับ outer epidermis ของแผ่น mantle ของหอยรับเนื้อเยื่อ (recipient หรือ operation mussel) ชิ้น mantle จะขยายเซลล์เพิ่มขึ้นและกลายเป็นถุงไข่มุก (pearl sac) สารมุกจะถูกขับมาสะสมกันอยู่ภายในถุงไข่มุกจนกลายเป็นไข่มุกซึ่งจะมีรูปร่างหลายแบบ (irregular shape) วิธีนี้เป็นวิธีที่นิยมใช้ในการผ่าตัดเนื้อเยื่อเพื่อผลิตไข่มุกน้ำจืด
- ไข่มุกแบบมีแกน (nucleated pearl)
วิธีการผลิตไข่มุกประเภทนี้ มีการเพิ่มแกนกลาง ซึ่งส่วนใหญ่จะมีลักษณะกลมขนาดต่างๆ กัน ลงไปพร้อมกันชิ้น mantle ขณะทำการผ่าตัดปลูกถ่ายเนื้อเยื่อ สารมุกที่ถูกขับออกมาจะเคลือบแกนกลางที่อยู่ภายในถุงไข่มุก เกิดเป็นไข่มุกรูปร่างกลมสวยงามซึ่งจะได้ราคาแพง แต่วิธีในการผ่าตัดมีความยุ่งยากซับซ้อนกว่า จึงต้องอาศัยความชำนาญและความละเอียดอ่อนในการผ่าตัดมาก การเพาะเลี้ยงไข่มุกน้ำจืดในประเทศไทย จนถึงปัจจุบันมีรายงานในหอยมุกน้ำจืดเพียง 3 ชนิด ได้แก่ C. hainesiana, H. (L.) myersiana และ ชนิด H. (L.) desowitzi ไข่มุกน้ำจืดที่ได้จากการเพาะเลี้ยงที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดกาญจนบุรี เป็นไข่มุกแบบไม่มีแกน สีของไข่มุกที่ได้จะแตกต่างกันไปขึ้นกับชนิดของหอย และพบว่าชิ้น mantle ของหอยให้เนื้อเยื่อที่นำมาตัดและฝังลงในหอยรับเนื้อเยื่อมีส่วนในการกำหนดสีของไข่มุกที่เกิดขึ้นสำหรับขนาดของหอยให้เนื้อเยื่อมีส่วนในการกำหนดสีของไข่มุกที่เกิดขึ้น สำหรับขนาดของหอยให้เนื้อเยื่อที่นำมาใช้นั้นจากการศึกษาในหอยมุกชนิด C. hainesiana พบว่าหอยที่มีความยาวเปลือก 13-14 เซนติเมตร มีความเหมาะสมกว่าขนาดยาว 18-19 เซนติเมตร (อรภา และสุวีณา, 2535) การผ่าตัดเพื่อฝังชิ้น mantle จากหอยให้เนื้อเยื่อลงในหอยรับเนื้อเยื่อซึ่งจะนำไปเลี้ยงต่อจนกว่าจะได้ไข่มุกที่มีขนาดตามความต้องการ โดยทั่วไปจะเป็นหอยชนิดเดียวกัน

   
   
 
 
 
ความเห็นที่ 1[ 88]
  เป็นข้อมูลที่ดีมาก ๆ เลยนะคะ และขอขอบคุณ คุณสุพัฒน์ที่แนะนำเวบดี ๆ มาให้ค่ะ
 

วัลย์ [ 2007-10-20 13:24:21 ]
   
 
ความเห็นที่ 2[ 402]
  จำหน่ายเปลือกหอยมุกสวย ราคาถูก ปลีก-ส่ง สนใจติดต่อ คุณมาซูมะ 081-552-9235 เป็นเปลือกหอยมุกธรรมชาติ มีทุกขนาด เปลือกหนา ไม่มีตำหนิ
 

[ 2009-02-26 00:24:34 ]
   
แสดงความเห็นต่อบทความนี้
User :
Pass :
ลืมรหัสผ่าน

 
 
© Copyright 2007 SIAM-SHOP.COM All Rights Reserved.